ประเด็นท้าทาย

ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ปัจจุบันเป็นยุคสมัยที่มีข้อมูลข่าวสารมากมาย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว โดยมีทั้งข้อมูลจริงและข้อมูลเท็จปะปนกันอยู่ ซึ่งจะต้องใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหาและวิจารณญาณควบคู่กันไปในการรับสาร    โดยเฉพาะข้อมูลจากสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดียที่นักเรียนส่วนใหญ่ใช้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นนักเรียนควรได้รับ   การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้มีการคิดวิเคราะห์อย่างถูกต้อง และมีเหตุผลประกอบ รวมถึงการมีวิจารณญาณพิจารณาความถูกต้องและ

น่าเชื่อถือของสาร มีความสามรถในการเลือกรับสารหรือการคัดเลือกสารที่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

ประเด็นท้าทาย 

เรื่อง การแก้ไขปัญหาการขาดทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมโดยการใช้เพลงในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ในการจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาภาษาไทย พบว่าผู้เรียนร้อยละ 20 ขาดทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย การแก้ไขปัญหาการขาดทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมโดยการใช้เพลงในการจัดการเรียนการสอน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” เรื่องมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชาภาษาไทย

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.2 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม



แผน ท 32101 ปี 2565 ศตวรรษที่ 21.docx

สื่อประกอบการจัดการเรียนการสอน

โวหาร + ภาพพจน์ (3).pdf
คุณค่าด้านเนื้อหา (ข้อคิดและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน) (1).pdf
รสวรรณคดีไทยและสันสกฤต (2).pdf
คุณค่าด้านสังคม (3).pdf

เอกสารประกอบการพิจารณา

เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสรรเพลงด้วยตนเองตามที่สนใจ โดยไม่จำกัดแนวเพลงและภาษา (หากเป็นเพลงภาษาอื่นจะต้องมีบทแปลของเพลงเป็นภาษาไทย)

การเลือกเพลง.pdf

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.3 จัดตั้งและเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และเข้าไปสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหาการจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน ห้องเรียน และโรงเรียน

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.4 ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.5 ครูผู้สอนสร้างแบบทดสอบ และแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม 

โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบทดสอบด้วยค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ด้วยผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.6 นำแบบทดสอบทดลองและกิจกรรมที่ออกแบบไปใช้กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เคยเรียนเนื้อหา เรื่อง วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบอีกครั้ง

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.7 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม รายวิชาภาษาไทยกับ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรูปแบบ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับห้องเรียนและสถานการณ์ 

เอกสารประกอบการพิจารณา

1) แบบทดสอบเมื่อผู้เรียนเรียนรู้จบ

2) แบบฝึกหัด เรื่อง หลักการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม

วิเคราะห์เพลง วิเคราะห์ตน วิเคราะห์ใจ (1).pdf

เอกสารประกอบการพิจารณา

3) ชิ้นงาน การวิเคราะห์เพลงตามหลักกการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม

เอกสารประกอบการพิจารณา

4) แบบสังเกตพฤติกรรม

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.8 บันทึกผลการเรียนรู้ของสรุปสารสนเทศของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทราบและได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.9 สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม

- การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนที่ยังขาดทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม